ฟิสิกส์ ม.6

บทที่ 15 ไฟฟ้าสถิต

บทที่ 16 ไฟฟ้าแม่เหล็ก1

บทที่17 ไฟฟ้าแม่เหล็ก 2

บทที่ 18 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

บทที่19 ฟิสิกส์ อะตอม

บทที่ 20 ฟิสิกส์ นิวเคลียร์

 

แนวข้อสอบปลายภาค วิชาฟิสิกส์ ม.6 ภาคเรียนที่ 1

ตอนที่ 1 แบบอัตนัย แสดงวิธีทำ

1.นำตัวต้านทาน 4 โอห์ม และ 6 โอห์ม นำมาต่อขนานกัน แล้วต่อกับเซลล์ไฟฟ้าที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 2 โวลต์ ความต้านทานภายใน 1 โอห์ม จงหากระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า มีค่าเท่าใด

2.กัลวานอมิเตอร์เครื่องหนึ่งมีความต้านทาน 20 Ω กระแสสูงสุดของกัลวานอมิเตอร์ 50 mA ถ้าต้องการนำ

กัลวานอมิเตอร์ไปวัดความต่างศักย์ได้สูงสุด 100 V จะทำความต้านทานเท่าใดมาต่อ และต่ออย่างไร

3.การต่อเซลไฟฟ้า แบบ อนุกรม  และแบบขนาน  คำนวณหา กระแสไฟฟ้า ไปฝึกมาค่ะ

ตอนที่ 2 แบบปรนัยเลือกตอบ

 1,โรงไฟฟ้าขนาด 400 kW ส่งกำลังไฟฟ้าผ่านสายไฟที่มีความต้านทาน 0.25 โอห์ม ด้วยความต่างศักย์ 20,000 โวลต์ 

จงหากำลังที่สูญเสียในรูปของสายไฟ 

                ก. 25 วัตต์ 

                ข. 50 วัตต์ 

                ค. 75 วัตต์ 

                ง. 100 วัตต์

2.กัลวานอมิเตอร์เครื่องหนึ่งมีความต้านทาน 900 โอห์ม มีกระแสผ่าน 10 ไมโครแอมแปร์ ถ้าต้องการให้กระแสผ่านได้สูงสุด 100 ไมโครแอมแปร์ต้องใช้ Rs มีค่าเท่าใดมาต่อแบบใด

ก.      Rs = 100 โอห์ม  ต่อขนานกับกัลวานอมิเตอร์

ข.      Rs = 90   โอห์ม  ต่อขนานกับกัลวานอมิเตอร์

ค.      Rs = 100 โอห์ม  ต่ออนุกรมกับกัลวานอมิเตอร์

ง.       Rs = 90   โอห์ม  ต่ออนุกรมกับกัลวานอมิเตอร์

3.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องวัดทางไฟฟ้าใน การดัดแปลงแกลวานอมิเตอร์

                ก. ถ้าดัดแปลงเป็นแอมมิเตอร์ ควรนำตัวต้านทานที่เรียกว่า มัลติพลายเออร์มาต่อเข้าแบบขนาน

              ข.ถ้าดัดแปลงเป็นแอมมิเตอร์ ควรนำตัวต้านทานที่เรียกว่า ชันต์  มาต่อเข้าแบบขนาน 

                ค.ถ้าดัดแปลงเป็นโวล์ตมิเตอร์ ควรนำตัวต้านทานที่เรียกว่า มัลติพลายเออร์มาต่อเข้าแบบขนาน

                ง.ถ้าดัดแปลงเป็นโวล์ตมิเตอร์ ควรนำตัวต้านทานที่เรียกว่า ชันต์  มาต่อเข้าแบบขนาน

          4.ถ้านักเรียนเลือก ฟิวส์ มาใช้มีหลักการเลือกอย่างไร

                ก.ความต้านทานต่ำ             จุดหลอมเหลวต่ำ

                ข.ความต้านทานสูง            จุดหลอมเหลวสูง

                ค.ความต้านทานสูง            จุดหลอมเหลวต่ำ

                ง.ความต้านทานต่ำ             จุดหลอมเหลวสูง

5.กัลวานอมิเตอร์เครื่องหนึ่งมีความต้านทาน 10,000 Ω วัดความต่างศักย์ได้ 100 โวลต์ ถ้าต้องการให้วัดความต่างศักย์ได้สูงสุด 400 โวลต์ จะต้องต่อความต้านทานอย่างไร และมีค่าเท่าใด

                ก.ต่ออนุกรม  ขนาด 30,000 โอห์ม                               

                ข.ต่อขนาน    ขนาด 30,000 โอห์ม               

                ค.ต่ออนุกรม  ขนาด 40,000 โอห์ม

                ง.ต่อขนาน     ขนาด 40,000 โอห์ม

6.ข้อใด กล่าวถูกต้อง

                ก.สารที่มีความต้านทานไฟฟ้ามาก   ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านมาก

              ข.สารที่มีความนำไฟฟ้ามาก    ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านมาก

              ค.สภาพนำไฟฟ้า เป็นส่วนกลับของสภาพต้านทานไฟฟ้า

              ง.ถูกทั้ง ข และ  ค  

7.ข้อใด กล่าวถูกต้อง

             ก. กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นได้ จากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า

                ข. การนำไฟฟ้าในโลหะเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน

                ค.ทิศของกระแสไฟฟ้ามีทิศเดียวกับทิศของประจุบวก

                ง.ถูกทุกข้อ

8.เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น  จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง

                ก.โลหะบริสุทธิ์   จะมีสภาพต้านทานเพิ่มขึ้น               

                ข.โลหะผสมสภาพต้านทานเปลี่ยนน้อยมาก

                ค.สารกึ่งตัวนำสภาพต้านทานลดลง                              

             ง. สารกึ่งตัวนำมีสภาพต้านทานมากขึ้น

9.การส่งกำลังไฟฟ้าเป็นระยะทางไกล ๆ ควรส่งด้วย ความต่างศักย์ 1,000 โวลต์หรือ 300,000 โวลต์

                ก.ควรส่งด้วยความต่างศักย์ 300,000 โวลต์ เพราะศักดาสูงทำให้ส่งได้ไกล ๆ

                ข.ควรส่งด้วยความต่างศักย์1,000 โวลต์ เพราะศักย์ไฟฟ้าต่ำทำให้ประหยัด

                ค.ควรส่งด้วยความต่างศักย์  300,000 โวลต์ เพราะศักดาสูงทำให้สูญเสียพลังงานน้อย

                ง.ควรส่งด้วยความต่างศักย์ 1,000 โวลต์ เพราะศักดาไม่สูง หรือต่ำเกินไปทำให้สูญเสียพลังงานน้อย

10.กระแสไฟฟ้า เกิดขึ้นได้อย่างไร

              ก.เมื่อประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ในแผ่นโลหะ                    

              ข.เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ในโลหะ

              ค.เมื่อประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ในตัวนำไฟฟ้า                  

              ง.ข้อ ก  และ ข   

11.ข้อใดกล่าวถูกต้อง

             ก.กระแสไฟฟ้าในตัวกลางมีทิศเดียวกับ  ทิศของสนามไฟฟ้า

            ข.ประจุบวกจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงไปตำแหน่งที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ

             ค.กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่จากตำแหน่งที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงไปตำแหน่งที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ

              ง.ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

12.ข้อใดกล่าว  ไม่ถูกต้อง  เกี่ยวกับการนำไฟฟ้า

                ก.การนำไฟฟ้าในลวดตัวนำ เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระ

                ข.การนำไฟฟ้าในหลอดสุญญากาศ เกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออนบวกและอิเล็กตรอน

                ค.การนำไฟฟ้าของอิเล็กโตรไลต์ เกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออน บวกและไอออนลบ

                ง.การนำไฟฟ้าในหลอดบรรจุแก็สเกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออน บวกและอิเล็กตรอนอิสระ

13. สภาพต้านทานของสารเรียงจากมากไปน้อย ข้อใดถูกต้อง

                ก.เงิน ทองแดง  อะลูมิเนียม                           

                 ข.ทอง  แก้ว พีวีซี 

                ค.พีวีซี  ไมกา   แก้ว                                          

                ง.ทองแดง เงิน แมงกานีส

 

14.ข้อใด กล่าวถูกต้อง

              ก.สารที่มีความต้านทานไฟฟ้ามาก   ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านมาก

              ข.สารที่มีความนำไฟฟ้ามาก    ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านมาก

              ค.สภาพนำไฟฟ้า เป็นส่วนกลับของสภาพต้านทานไฟฟ้า

              ง.ถูกทั้ง ข และ  ค  

15.ข้อใดกล่าวถูกต้อง

                ก. การต่อตัวต้านทาน แบบอนุกรม ความต้านทานรวมมีค่าน้อย

                ข. การต่อตัวต้านทานแบบขนาน ทำให้มีความต้านทานสูง

                ค.แอมมิเตอร์ ที่ดี ควรมีความต้านทานสูง

                ง.โวลต์มิเตอร์ที่ดี  ควรมีความต้านทาน สูง

 

16.ลวดโลหะมีพื้นที่ภาคตัดขวาง 1 mm 2 มีกระแสไฟฟ้าผ่าน 0.5 A และมีขนาดของความเร็วลอยเลื่อนของอิเล็กตรอนอิสระ เท่ากับ 3.68×10 – 5 m/s จงหาความหนาแน่นอิเล็กตรอนอิสระของลวดโลหะนี้

ก. 2.72×10 23 m – 3                                                                      ข. 2.72×10 25 m – 3             

ค. 8.50×10 28 m – 3                                                                      ง. 8.50×10 30 m – 3             

17.ลวดตัวนำขนาดสม่ำเสมอ มีค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วยพื้นที่ เท่ากับ 1×10 6A/m2ถ้าความหนาแน่นอิเล็กตรอนอิสระของลวดตัวนำนี้ เท่ากับ 5×10 28 m – 3 จงหาขนาดความเร็วลอยเลื่อนของอิเล็กตรอนอิสระ

ก. 1.25×10 – 4 m/s                                                                     ข. 1.50×10 – 4 m/s

ค. 1.75×10 – 4 m/s                                                                     ง. 2.00×10 – 4 m/s

18.การส่งกำลังไฟฟ้าเป็นระยะทางไกล ๆ ควรส่งด้วย ความต่างศักย์ 1,000 โวลต์หรือ 300,000 โวลต์

                ก.ควรส่งด้วยความต่างศักย์1,000 โวลต์ เพราะศักย์ไฟฟ้าต่ำทำให้ประหยัด

                ข.ควรส่งด้วยความต่างศักย์ 1,000 โวลต์ เพราะศักดาไม่สูง หรือต่ำเกินไปทำให้สูญเสียพลังงานน้อย

                ค.ควรส่งด้วยความต่างศักย์ 300,000 โวลต์ เพราะศักดาสูงทำให้ส่งได้ไกล ๆ

                ง.ควรส่งด้วยความต่างศักย์  300,000 โวลต์ เพราะศักดาสูงทำให้สูญเสียพลังงานน้อย

19.เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น  จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง

                ก.โลหะบริสุทธิ์   จะมีสภาพต้านทานเพิ่มขึ้น               

ข.โลหะผสมสภาพต้านทานเปลี่ยนน้อยมาก

                ค.สารกึ่งตัวนำสภาพต้านทานลดลง                              

 ง. ถูกทุกข้อ

20.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องวัดทางไฟฟ้าใน การดัดแปลงแกลวานอมิเตอร์

                ก. ถ้าดัดแปลงเป็นแอมมิเตอร์ ควรนำตัวต้านทานที่เรียกว่า มัลติพลายเออร์มาต่อเข้าแบบขนาน

              ข.ถ้าดัดแปลงเป็นแอมมิเตอร์ ควรนำตัวต้านทานที่เรียกว่า ชันต์  มาต่อเข้าแบบขนาน 

                ค.ถ้าดัดแปลงเป็นโวล์ตมิเตอร์ ควรนำตัวต้านทานที่เรียกว่า มัลติพลายเออร์มาต่อเข้าแบบขนาน

                ง.ถ้าดัดแปลงเป็นโวล์ตมิเตอร์ ควรนำตัวต้านทานที่เรียกว่า ชันต์  มาต่อเข้าแบบขนาน

21.เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านชนิด 100 W 220 V เมื่อนำมาใช้ในขณะไฟตกเหลือ 200 V เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นจะใช้กำลังไฟฟ้าเท่าใด

ก. 78 W                                                                                       

ข. 83 W

ค. 88 W                                                                                       

ง. 93 W

 22.ข้อใดแสดงความหมายของ “จุดสะเทิน” ได้ถูกต้อง

ก. ตำแหน่งที่ไม่มีเส้นแรงแม่เหล็กผ่าน                                               

ข. ตำแหน่งที่ไม่มีแรงกระทำต่อเข็มทิศ

ค. ตำแหน่งที่มีค่าสนามแม่เหล็กลัพธ์เป็นศูนย์                   

ง. ตำแหน่งที่เข็มทิศจะวางตัวในแนวใดก็ได้

 23.สนามแม่เหล็กสม่ำเสมอมีทิศพุ่งออกจากกระดาษ ถ้าอิเล็กตรอนวิ่งจากขวาไปซ้ายเข้าสู่สนามแม่เหล็ก

การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสนามแม่เหล็กจะเป็นไปตามข้อใด

ก. วิ่งโค้งลง                                                

ข. วิ่งโค้งขึ้น

ค. วิ่งเป็นเส้นตรง                                         

ง. สรุปแน่นอนไม่ได้

10 Responses

  1. วัดดีค่ะแม่

  2. สวัสดีครับ ม.6 วิธีสอนเจ๋งไปเลยครับ (surprise)

  3. คิดถึงแม่มากค่ะ ดูแลสุขภาพด้วนน่ะค่ะ

  4. สื่อดีมากๆค่ะ^^~ขอบคุณนะค่ะ

  5. บางมากก

  6. เนื้อหาแน่นเอี๊ยด อยากได้โจทย์บ้างค่ะ ยิ่งยากยิ่งดี ^^

  7. มีเฉลยไหมครับ

  8. ดีเยี่ยม

ใส่ความเห็น